ใบขับขี่สาธารณะคืออะไร จะทำใบขับขี่สาธารณะต้องทำอย่างไรบ้าง
03 พฤษภาคม 2023
ผู้ชม: 39671 คน

ใบขับขี่สาธารณะคืออะไร มีขั้นตอนเงื่อนไขการทำอย่างไร

 

ใบขับขี่นั่นมีหลายประเภท ส่วนใหญ่เรามักจะคุ้นเคยกับใบขับขี่ประเภท บ. (ส่วนบุคคล) เช่น ใบขับขี่ 2 ปี ใบขับขี่ 5 ปี หรือใบขับขี่ประเภท ท. (ทุกประเภท) และยังมีการแยกใบขับขี่ตามยานพาหนะด้วย เช่น ใบขับขี่รถยนต์ทั่วไป ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ ในบทความนี้จึงจะพามาไขข้อสงสัยว่า ใบขับขี่สาธารณะคืออะไร มีกี่ประเภท และมีขั้นตอนในการทำอย่างไร ต่างจากการทำใบขับขี่ทั่วไปหรือไม่

ใบขับขี่สาธารณะคืออะไร

ใบขับขี่สาธารณะคือ เอกสารที่ใช้ยืนยันว่าเป็นผู้ที่มีความสามารถในการขับขี่ ได้รับอนุญาตให้สามารถขับรถได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ถือเป็นเอกสารที่ผู้ขับรถสาธารณะจะต้องมีติดตัวเอาไว้เสมอ ไม่ว่าจะเป็น รถ แท็กซี่รับจ้าง รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง และรถสามล้อ โดยสามารถสามารถพกได้ทั้งบัตรตัวจริง และ ใบขับขี่อิเล็กทรอนิกส์แทนได้

ใบขับขี่สาธารณะมีกี่ประเภท

1. ใบขับขี่รถยนต์ทั่วไป

ใบขับขี่รถยนต์ทั่วไปถือเป็นใบขับขี่ที่มีผู้ใช้เยอะที่สุด ซึ่งเป็นใบขับขี่ใหม่ที่จะได้ต่อจากใบขับขี่แบบชั่วคราวหมดอายุไปแล้ว ซึ่งมีอายุการใช้งาน 5 ปี และค่าธรรมเนียมจะแตกต่างกันออกไปดังนี้

ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล มีอายุการใช้งาน 5 ปี และมีค่าธรรมเนียม 500 บาท

ใบขับขี่รถยนต์สาธารณะ มีอายุการใช้งาน 3 ปี และมีค่าธรรมเนียม 300 บาท

 2. ใบขับขี่รถยนต์ชนิดชั่วคราว

ใบขับขี่รถยนต์ชนิดชั่วคราวถือเป็นใบขับขี่ใบแรกที่จะได้รับจากการทำใบขับขี่ครั้งแรก ซึ่งมีอายุการใช้งานที่สั้นกว่าใบขับขี่รถยนต์ทั่วไป และมีค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่าใบขับขี่แบบทั่วไป โดยใบขับขี่รถยนต์ประเภทชั่วคราว มี 3 แบบดังนี้

ใบขับขี่รถยนต์ชั่วคราว มีอายุการใช้งาน 2 ปี มีค่าธรรมเนียม 100 บาท

ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลแบบชั่วคราว มีอายุการใช้งาน2 ปี มีค่าธรรมเนียม 50 บาท

ใบขับขี่รถยนต์สามล้อ (รถตุ๊กตุ๊ก) ชั่วคราว มีอายุการใช้งาน 2 ปี มีค่าธรรมเนียม 50

3. ใบขับขี่รถจักรยานยนต์

ใบขับขี่รถจักรยานยนต์นั้นจะมีเงื่อนไขเหมือนกับใบขับขี่รถยนต์ เมื่อครบกำหนดวันหมดอายุใบขับขี่ชั่วคราวแล้ว ก็จะได้รับใบขับขี่ในระยะเวลาที่ยาวขึ้นกว่าเดิมซึ่ง ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ สามารถแบ่งได้ 2 แบบดังนี้

ขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล มีอายุการใช้งาน 5 ปี มีค่าธรรมเนียม 250 บาท

ใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ มีอายุการใช้งาน 3 ปี มีค่าธรรมเนียม: 150 บาท

4. ใบขับขี่รถยนต์สามล้อ หรือรถตุ๊กตุ๊ก

รถยนต์สามล้อ หรือรถตุ๊กตุ๊ก ก็มีเงื่อนไขเดียวกับใบขับขี่รถยนต์ คือเมื่อครบกำหนดวันหมดอายุใบขับขี่ชั่วคราวแล้ว ก็จะได้รับใบขับขี่ในระยะเวลาที่ยาวขึ้นกว่าเดิม  ใบขับขี่รถยนต์สามล้อ หรือรถตุ๊กตุ๊ก แบ่งได้ 2 แบบดังนี้

 

  • ใบขับขี่รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล มีอายุการใช้งาน 5 ปี มีค่าธรรมเนียม 250 บาท
  • ใบขับขี่รถยนต์สามล้อสาธารณะ มีอายุการใช้งาน: 3 ปี มีค่าธรรมเนียม: 150 บาท

 

5. ใบขับขี่รถแทรกเตอร์,ใบขับขี่รถบดถนน

ใบขับขี่รถบดถนน และใบขับขี่รถแทรกเตอร์ ผู้ขับจะต้องมีการผ่านการอบรมหลักสูตรพิเศษต่างๆ เพื่อให้ใช้งานรถได้อย่างปลอดภัย พร้อมทั้งต้องมีความชำนาญในการบังคับและควบคุมรถอย่างมาก ซึ่งจะมีรายละเอียดค่าธรรมเนียม รวมถึงอายุการใช้งานดังนี้

 ใบขับขี่รถแทรกเตอร์และใบขับขี่รถบดถนน มีอายุการใช้งาน 5 ปี มีค่าธรรมเนียม 250 บาท

6. ใบขับขี่รถระหว่างประเทศ

ใบขับขี่รถระหว่างประเทศ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าใบขับขี่สากล ถือเป็นใบอนุญาตที่คุณสามารถใช้ขับขี่ยานพาหนะต่าง ๆ นอกประเทศไทยได้ โดยเงื่อนไขของผู้ที่จะยื่นขอใบขับขี่สากลจะต้องมีใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลอยู่ก่อนแล้วจึงจะได้รับการอนุมัติ ซึ่งรายละเอียดค่าธรรมเนียม รวมถึงอายุการใช้งานดังนี้

ใบขับขี่รถระหว่างประเทศ มีอายุการใช้งาน1 ปี มีค่าธรรมเนียม: 500 บาท

ขั้นตอนการทำใบขับขี่สาธารณะมีอะไรบ้าง

  1. ทำการเข้าอบรมใบขับขี่ออนไลน์แล้วเลือกการอบรมขอใบขับขี่สาธารณะ และดูคลิปให้จบ เมื่อดูคลิปจบแล้วจะมี QR Code ยืนยัน ให้เก็บหน้า  QR Code เอาไว้ด้วยการเซฟภาพ หรือแคปภาพหน้าจอเอาไว้
  2. ทำการจองคิวเพื่อรับการทดสอบ ผ่านแอปพลิเคชัน  DLT Smart Queue หรือทางเว็บไซต์ https://gecc.dlt.go.th/login ตามวันเวลาที่ต้องการ
  3. จากนั้นทำการยื่นเอกสารที่กรมขนส่งตามวันและเวลาที่ได้จองเอาไว้ โดยเอกสารที่ต้องเตรียมไปได้แก่ บัตรประชาชน  ใบขับขี่ส่วนบุคคล ที่ยังไม่หมดอายุ ,ใบรับรองแพทย์ ต้องขอไม่เกิน 30 วัน ก่อนไปทดสอบที่ขนส่ง, คิวอาร์โค้ดผ่านการอบรม ที่มีอายุไม่เกิน 180 วัน
  4. เข้ารับการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย พร้อมสอบข้อเขียนด้วย และสอบปฏิบัตินั่น
  5. เมื่อผ่านการทดสอบทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ขนส่งจะให้เอกสาร หนังสือขอตรวจประวัติอาชญากรรม และใบรับรองการผ่านอบรม
  6. นำหนังสือขอตรวจประวัติที่ได้ ไปยื่นขอตรวจประวัติ โดยมีรายละเอียดตามด้านล่างที่
  • สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ปทุมวัน) กรุงเทพฯ หากเป็นต่างจังหวัดให้ยื่นที่ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 1-10 หรือ พิสูจน์หลักฐานจังหวัด หรือ สถานีตำรวจที่อยู่ใกล้
  • จากนั้นรอผลตรวจประวัติ ประมาณ 2-3 สัปดาห์
  • มีค่าตรวจ 100 บาท​

      7. ขอรับใบขับขี่ที่กรมขนส่ง ทำการถ่ายรูปเพื่อทำใบขับขี่ รอรับใบขับขี่สาธารณะ พร้อมชำระค่าธรรมเนียม 305 บาท เป็นอันเสร็จสิ้น

การทำใบขับขี่สาธารณะ มีเงื่อนไขอะไรบ้าง

ผู้ที่ต้องการทำใบขับขี่สาธารณะนั้นไม่ได้มีขั้นตอนอะไรที่ยุ่งยากมากมาย แต่ก็จะมีเงื่อนไขกำหนดไว้กับใบขับขี่แต่ละประเภทดังนี้

ใบขับขี่รถยนต์สาธารณะ ต้องเป็นผู้ได้รับใบขับขี่ชั่วคราวมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือมีใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลอยู่แล้ว และผู้ทำต้องมีอายุตั้งแต่ 22 ปีขึ้นไป

ใบขับขี่รถยนต์สามล้อ หรือรถตุ๊กตุ๊กสาธารณะ ต้องเป็นผู้ได้รับใบขับขี่รถยนต์สามล้อชั่วคราวมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือมีใบขับขี่รถยนต์สามล้อส่วนบุคคลอยู่ก่อนแล้ว และผู้ทำต้องมีอายุตั้งแต่ 22 ปีขึ้นไป

ใบขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ ต้องเป็นผู้ที่เคยได้รับใบขับขี่รถจักรยนต์ชั่วคราวมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือมีใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลอยู่ก่อนแล้ว และผู้ทำต้องมีอายุตั้งแต่ 22 ปีขึ้นไป

ใบขับขี่สาธารณะนั้นมีหลากหลายประเภท ผู้ทำควรต้องรู้ก่อนว่าจะทำใบขับขี่ประเภทไหน และควรดูเงื่อนไขในการทำให้ดี พร้อมทั้งตรวจสอบขั้นตอนในการทำใบขับขี่และเอกสารที่ต้องใช้ให้ดี เพื่อป้องกันการผิดพลาด และเพื่อความรวดเร็วในการทำ 

การขับรถสาธารณะยิ่งต้องห่วงเรื่องความปลอดภัยเป็นอันดับแรก การเลือกทำประกันภัยรถนั้นจึงสำคัญเช่นกัน หากใครที่สนใจจะทำประกันรถด้วยตัวเอง ที่  TIPINSURE มีประกันภัยรถที่หลากหลาย สามารถตอบโจทย์ได้ทุกลักษณะการใช้งานรถ มีการคุ้มครองที่ครอบคลุม และสิทธิประโยชน์พิเศษอีกมากมาย ที่คุณสามารถเลือกดูเปรียบเทียบเองได้ เพื่อให้คุณได้รับความคุ้มค่าสูงสุด

 

 

 

#Tag: