ไขข้อสงสัยอุณหภูมิเท่าไหร่ถึงมีไข้
ในขณะที่ร่างกายของเราทำงานนั้นมักจะมีอุณหภูมิความร้อนอยู่ภายในตัว ซึ่งในช่วงเวลาที่ร่างกายมีความปกติก็จะมีความรู้สึกดีพร้อมลุยวันใหม่ได้เสมอๆ แต่ถ้าหากเช้าวันหนึ่งคุณตื่นมาแล้วรู้สึกคั่นเนื้อครั่นตัว ไม่ค่อยมีแรงเต็มที่เหมือนที่เคย แต่พอวัดอุณหภูมิแล้วก็ดูเหมือนจะไม่ได้สูงอะไรมาก ปัญหานี้อาจสร้างความกังวลใจให้กับใครๆ หลายคนอยู่ไม่น้อยเพราะบางครั้งเราก็คาดเดาเองไม่ได้เลยว่าเกิดขึ้นจากสาเหตุใด วันนี้ TIPINSURE จะมาอธิบายให้คุณเข้าใจว่าอุณหภูมิเท่าไหร่ถึงมีไข้ ใช้เกณฑ์อะไรในการวัดระดับความหนักเบาของอาการไข้ พร้อมแนะนำวิธีวัดไข้ที่ถูกต้องตามจุดที่สำคัญต่างๆ ของร่างกาย
อุณหภูมิร่างกายปกติควรอยู่ที่เท่าไหร่
ร่างกายของมนุษย์ทุกคนโดยทั่วไปจะมีอุณหภูมิที่ค่อนข้างคงที่ โดยอุณหภูมิที่เรียกได้ว่าปกติที่สุดจะอยู่ระหว่าง 36.2-37.5 องศาเซลเซียส จะเป็นช่วงอุณหภูมิที่ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงอะไรมากอาจจะมีขึ้นลงบางเล็กน้อยในระดับไม่ถึงองศาเซลเซียสดีตามสภาพแวดล้อม ณ เวลานั้น เช่นอากาศเย็นกว่าปกติก็จะมีความรู้หนาวเย็นจนอาจขนลุก หรือในสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวภายในร่างกายก็จะรู้สึกร้อนผ่าวตามไปด้วยและกระตุ้นให้ร่างกายหิวน้ำอยู่บ่อยๆ กระบวนที่ร่างกายมีการปรับอุณหภูมิไปตามสภาพแวดล้อม คือการที่ร่างกายรักษาสมดุลของระบบภายในเอาไว้ให้สามารถทำงานได้ตามปกติไม่กระทบต่อส่วนใดส่วนหนึ่งมากเกินไป
อุณหภูมิเท่าไหร่ถึงมีไข้
ถึงแม้ว่าร่างกายของเราจะมีความคงที่ของอุณหภูมิมากขนาดไหน ก็ต้องมีช่วงเวลาที่ร่างกายไม่ปกติอยู่บ้าง แล้วอุณหภูมิเท่าไหร่ถึงมีไข้? ในทางการแพทย์นั้นหากเราวัดอุณหภูมิของร่างกายได้ผลเกิน 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ถือว่าอุณหภูมิสูงกว่าปกติ หากมีอาการภายนอกที่สามารถสังเกตได้ร่วมด้วย เช่น อาการครั่นเนื้อครั่นตัว หน้าแดง ตัวแดง ไม่ค่อยมีแรง และยังมีอุณหภูมิเกินมาตรฐานนานกว่า 48 ชั่วโมงให้นับว่าเป็นอาการของไข้ทันที
เกณฑ์การวัดไข้ตามระดับ
จากข้อสงสัยที่ว่าอุณหภูมิเท่าไหร่ถึงมีไข้ ทางการแพทย์จึงได้มีการแบ่งระดับของอุณหภูมิเอาไว้ เพื่อให้วินิจฉัยเบื้องต้นได้ว่าอุณหภูมิร้อนระดับไหนคือไข้ต่ำหรือไข้สูงมาก
- อุณหภูมิของร่างกายตั้งแต่ 37.6-38.3 องศาเซลเซียส หมายถึงไข้ต่ำ
- อุณหภูมิของร่างกายตั้งแต่ 38.4-39.4 องศาเซลเซียส หมายถึงไข้ระดับปานกลาง
- อุณหภูมิของร่างกายตั้งแต่ 39.5-40.5 องศาเซลเซียส หมายถึงไข้สูง
- อุณหภูมิของร่างกายตั้งแต่ 40.5 องศาเซลเซียสขึ้นไปถือว่ามีอาการไข้สูงมาก
ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้มีไข้
อุณหภูมิที่ปกติของร่างกายทุกคนควรอยู่ที่ 36.2-37.5 องศาเซลเซียส หากอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าหรือสูงกว่าระดับนี้ถือว่าร่างกายผิดปกติ โดยมีเกณฑ์การวัดว่าอุณหภูมิเท่าไหร่ถึงมีไข้จะเป็นช่วงอุณหภูมิตั้งแต่ 37.6 องศาเซลเซียส หากพบว่าไข้สูงเกิน 39.4 องศาเซลเซียสขึ้นไปควรรีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด ซึ่งอาการไข้มักเกิดได้จากหลายปัจจัยด้วยกันไม่ว่าจะเป็น
- เกิดภาวะการติดเชื้อในร่างกาย ทั้งเชื้อโรค ไวรัส และแบคทีเรีย
- ภูมิคุ้มกันในร่างกายตกหรือทำงานผิดปกติ
- เกิดการอักเสบในส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
- เกิดภาวะร่างกายขาดน้ำ จากการดื่มน้ำน้อยและเหงื่อออกมาก
- ตากแดดหรืออยู่ในสภาพวะอากาศร้อนๆ เป็นเวลานาน
ถ้าเป็นไข้แล้วมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาการปวดหัวมากกว่าปกติ มีผื่นขึ้นตามตัว ไอแบบมีเสมหะข้นเหนียว ปวดท้อง และปวดหลัง ควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยด่วนเพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคต่างๆ ที่คาดไม่ถึง
วิธีการวัดไข้ที่ถูกต้อง
การวัดไข้ตามหลักทางการแพทย์นั้นสามารถวัดได้จาก 5 ตำแหน่งสำคัญของร่างกาย โดยที่แต่ละตำแหน่งก็จะมีเงื่อนไขในการวัดที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งคนส่วนมากไม่ค่อยรู้ว่าควรวัดอย่างไรให้ได้ค่าอุณหภูมิที่ถูกต้องที่สุด TIPINSURE จะอธิบายให้เข้าใจแบบง่ายๆ แต่ละจุดดังต่อไปนี้
1. วัดไข้ทางหน้าผาก
วิธีแรกเป็นจุดที่วัดได้ง่ายมากที่สุดคือตำแหน่งหน้าผาก อันดับแรกต้องเช็กเหงื่อบนหน้าผากออกก่อนให้หมด จากนั้นให้ใช้แถบวัดไข้แนบลงไปนานประมาณ 15 วินาทีเป็นต้นไปจะได้อุณหภูมิที่แน่นอนที่สุด แต่การวัดบนตำแหน่งหน้าผากมีข้อเสียคืออาจไม่แม่นยำเท่าตำแหน่งอื่นๆ ของร่างกาย
2. วัดไข้ทางรักแร้
ถัดมาเป็นตำแหน่งบริเวณใต้รักแร้ เป็นจุดที่สามารถวัดอุณหภูมิได้ง่ายเช่นกันเหมาะกับคนทุกเพศทุกวัย โดยอุปกรณ์ที่เหมาะจะเป็นปรอทวัดไข้ แนะนำให้สอดทิ้งไว้ประมาณ 2-3 นาที จึงจะได้ค่าอุณหภูมิที่แน่นอนที่สุด แต่ข้อเสียของการวัดในตำแหน่งนี้คืออาจมีการคลาดเคลื่อนได้หากเหน็บปรอทวัดไข้ในระยะเวลาที่นานเกินไป
3.วัดไข้ทางปาก
หากคุณอยากรู้ว่าอุณหภูมิเท่าไหร่ถึงมีไข้ การวัดที่ปากนับว่าเป็นตำแหน่งที่มีความแม่นยำที่สุด โดยอุปกรณ์ที่เหมาะที่สุดควรใช้เป็นปรอทวัดไข้ ให้อมไว้ใต้ลิ้นประมาณ 3 นาที เพราะเป็นบริเวณที่รวมเส้นเลือดฝอยเอาไว้เป็นจำนวนมากทำให้ได้ค่าอุณหภูมิที่แม่นยำที่สุด
4. วัดไข้ทางทวารหนัก
ถ้าคุณต้องการวัดค่าอุณหภูมิที่อ้างอิงจากส่วนแกนกลางของร่างกาย ตำแหน่งทางทวารหนักคือบริเวณที่เหมาะสมมากที่สุด เป็นวิธีวัดไข้ที่เหมาะสำหรับเด็กเล็กที่มีอายุน้อยกว่า 1 ปี โดยวิธีการวัดคือการนำปรอทวัดไข้ทาวาสลีนตรงปลายข้างที่ใช้วัดไข้ก่อนส่งเข้าไปที่ทวารหนักประมาณ 1 นิ้ว ใช้เวลาประมาณ 2 นาที
5. วัดไข้ทางหู
สุดท้ายคือวิธีวัดไข้ทางหู เป็นตำแหน่งที่เหมาะสำหรับเด็กเล็กอายุ 3 เดือนขึ้นไป โดยจะเป็นการใช้เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรดในการตรวจ เพราะรูหูมีขนาดใหญ่พอที่จะให้แสงอินฟราเรดเข้าไปถึงชั้นเยื่อแก้วหูได้ โดยใช้เวลาประมาณ 2-3 วินาทีก็รู้ผลแล้ว
ข้อควรระวังในการวัดไข้
การวัดไข้ในปัจจุบันสามารถใช้อุปกรณ์ได้ 3 แบบคือ ปรอทแก้ว, ปรอทแบบดิจิทัล และเครื่องวัดแบบอินฟราเรด โดยการวัดไข้นั้นจะมีปัจจัยต่างๆ ที่ควรระวังดังต่อไปนี้
- ในกรณีที่ใช้ปรอทแก้วทางปากไม่ควรหายในทางปากในขณะที่กำลังวัดไข้ และไม่ควรดื่มน้ำเย็นก่อนวัดอย่างน้อย 10-15 นาที
- กรณีที่วัดทางทวารหนักควรจับปลายปรอทไว้ไข้เอาไว้แน่นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ปรอทเข้าลึกเกินไป
- ไม่ควรวัดไข้หลังจากทำกิจกรรมที่ต้องใช้กำลัง เช่น การออกกำลังกาย การทำกิจกรรมกลางแจ้ง ควรให้ร่างกายได้มีการปรับตัวประมาณ 1 ชั่วโมงจึงจะสามารถวัดไข้ได้
- ไม่ควรวัดไข้หลังจากสูบบุหรี่เพราะจะได้ค่าที่ไม่ตรง
สรุปเกี่ยวกับอุณหภูมิเท่าไหร่ถึงมีไข้และวิธีวัดไข้ที่ถูกต้อง
ร่างกายของคนเรามีอุณหภูมิที่คงที่อยู่เสมอโดยเฉลี่ยอยู่ประมาณ 36.2-37.5 องศาเซลเซียส ขึ้นลงตามสภาพแวดล้อมรอบข้าง หากพบว่ามีอุณหภูมิต่ำหรือสูงไปมากกว่านี้เกิดจากความผิดปกติภายในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นเกิดจากโรคไข้หวัดใหญ่ ไข้เลือดออก และโรคอื่นๆ ที่เกิดจากการติดเชื้อ หากพบว่ามีอาการไข้ที่สูงเกิน 39 องศาเซลเซียสขอแนะนำว่าควรเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยเร็วที่สุดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมาได้
สำหรับใครที่กำลังวางแผนเรื่องการดูแลสุขภาพตัวเองและคนที่คุณรัก การทำประกันสุขภาพถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด โดย TIPINSURE พร้อมช่วยคุณด้วยแผนประกันที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคุณมากที่สุด โดยไม่จำเป็นต้องตรวจสุขภาพก่อนทำ หรือถ้าคิดว่าร่างกายแข็งแรงอยู่แล้วก็สามารถทำประกันได้เช่นกันเพื่ออนาคตที่ไม่แน่นอนของสุภาพ ศึกษาข้อมูลหรือต้องการสอบถามข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับประกันสุขภาพจาก TIPINSURE ติดต่อได้เลย