รู้ให้เคลียร์!! พ.ร.บ กับ ภาษี ไม่ใช่อันเดียวกัน
เป็นที่ทราบกันดีว่ากฎหมายกำหนดให้รถทุกคันชำระ พ.ร.บ กับ ภาษี ซึ่งทั้ง 2 อย่างมีการแยกประเภทแบบชัดเจนอยู่แล้ว แต่เราเชื่อว่ายังมีอีกหลายคนมีความสงสัยว่า พ.ร.บ กับ ภาษี มีความแตกต่างกันอย่างไรและมีไว้ทำอะไร วันนี้เราจะพาไปไขข้อข้องใจว่าทั้งไม่ใช่อันเดียวกัน! ใครยังสงสัยอยู่ จะมาไขข้อข้องใจให้ทุกคนทราบกันต้องดู!
ความหมายของ พร บ กับ ภาษี
เรามาเริ่มทำความเข้าใจกับความหมายและความแตกต่างของ พ.ร.บ กับ ภาษี กันว่าทั้งหมดนี้มีความหมายและมีความสำคัญอย่างๆ ไรกันพร้อมแล้วมาดูกันเลย
- พ.ร.บ. คืออะไร?
เรามาเริ่มต้นกันที่ พร บ รถ (พรบ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ) หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เป็นการประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ บังคับให้รถยนต์ และรถจักรยานยนต์ทำประกันประเภทนี้ หากไม่ทำจะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท หลังจากทำ พ.ร.บ. รถต้องเก็บรักษาหลักฐาน ไว้ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ เมื่อเจ้าหน้าที่ต้องการ และ พ.ร.บ. ยังเป็นเอกสารสำคัญที่ต้องนำไปต่อภาษีรถยนต์ด้วยนะ และการชำระภาษีรถประจำปีจำเป็นต้องมี พ.ร.บ. ทุกครั้ง โดยจะต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 90 วัน นับจากวันที่ชำระภาษี
โดยให้ความคุ้มครองเฉพาะ ความเสียต่อชีวิต และรวมถึงการบาดเจ็บหรือการสูญเสียส่วนต่าง ๆ ของร่างกายของบุคคลภายนอก ซึ่งเป็นผู้ประสบอุบัติเหตุจากรถทุกชนิด โดยไม่จำเป็นว่าบุคคลที่ได้รับการบาดเจ็บนั้นจะเป็นผู้ที่กระทำความผิดหรือไม่ ซึ่งจะให้ความคุ้มครองต่อตัวคู่กรณีและผู้เอาประกันเมื่อเกิดอุบัติเหตุจากรถเท่านั้น ! ตามวงเงินความคุ้มครองที่ระบุในหน้าตรางกรมธรรม์ของรถยนต์ชนิดนั้น ๆ ในรูปแบบของเงินชดเชยและค่ารักษาพยาบาลตามที่กฎหมายกำหนดโดยมีรายละเอียด ดังนี้
- ความคุ้มครองเบื้องต้น หากเกิดเหตุแล้วตรวจสอบว่ามีพ.ร.บ. รถ จะทำการค่ารักษาพยาบาล 30,000 บาท/ คนกรณีเสียชีวิต 35,000 บาท/คน
- หากพิสูจน์ว่าเป็นฝ่ายถูก รับวงเงินคุ้มครองเพิ่ม
- ค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ 80,000 บาท/คน
- เสียชีวิต 500,000 บาท/คน
- สูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพอย่างถาวร หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง 200,000 - 500,000 บาท
- หากไม่ได้ทำประกันพรบ.รถยนต์จะเกิดอะไรขึ้น
ถ้าไม่ต่อประกันพ.ร.บ. รถ ตามที่กฎหมายกำหนดแล้วหล่ะก็ คุณจะต้องจ่ายค่าปรับ ในกรณีที่คุณขับรถยนต์ ไม่ว่าคุณจะเป็นเจ้าของรถคันนั้นหรือไม่ หากเกิดอุบัติเหตุจากการใช้รถที่ไม่มีพ.ร.บ. รถ ก็จะต้องจ่ายค่าเสียหายและค่าชดเชยด้วยตัวเอง และที่สำคัญคุณจะไม่สามารถต่อภาษีหรือต่อทะเบียนรถยนต์ได้เพราะการจะต่อภาษี คุณจะต้องต่อพรบ.เสียก่อน
- พรบ.รถยนต์ทำได้ที่ไหนบ้าง
เชื่อว่าบางคนเองก็อาจยังไม่ทราบว่าถ้าต้องการต่อ พรบ. รถ นั้นจะสามารถทำที่ไหนได้บ้าง เดี๋ยวนี้นั้นสะดวกและรวดเร็วมากขึ้นเพราะเราสามารถทำได้ทั้งออนไลน์และออฟไลน์
- กรณีออนไลน์ คุณสามารถเข้าไปต่อพรบ.รถยนต์ได้ที่ กรมการขนส่งทางบก
- กรณีออฟไลน์ คุณสามารถเดินทางไปต่อพรบ.ได้ที่สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ ที่ทำการไปรษณีย์ ห้างสรรพสินค้า และเคาน์เตอร์เซอร์วิส
ดังนั้น อย่าลืมไปตรวจสอบว่าพรบ.รถยนต์ของคุณหมดอายุหรือยัง หรือรถของคุณมีพรบ.รถยนต์แล้วหรือไม่ หากรถยังไม่มีพรบ.หรือพรบ.หมดอายุ จะต้องรีบต่อโดยเร็ว
- ภาษีรถยนต์คืออะไร จำเป็นต้องจ่ายหรือไม่?
ทีนี้มาถึงเรื่องของป้ายภาษีรถยนต์กันบ้าง สำหรับป้ายภาษีรถยนต์ก็คือ ป้ายสี่เหลี่ยมขนาดเล็ก เท่าฝ่ามือ สีชมพูฟ้า มี (ระบุ) ปี พ.ศ. ตัวใหญ่ไว้ติดหน้ากระจก ซึ่งป้ายภาษีรถยนต์ ก็คือเครื่องหมายแสดงให้เห็นว่ารถคันนี้ได้จดทะเบียนตามกฎหมายอย่างถูกต้องกับกรมการขนส่งทางบก ซึ่งหากคุณขาดต่อภาษี อาจทำให้ทะเบียนรถถูกระงับ กลายเป็นรถผิดกฎหมายทันทีแต่ถ้าใครกลัวลืมหรือกลัวว่าเมื่อครบกำหนดแล้วจะไม่มีเวลาไปดำเนินการก็สามารถทำล่วงหน้าได้นะก่อนหมดอายุได้ไม่เกิน 3 เดือน
อย่าลืมเด็ดขาด !! ว่าต้องทำ พ.ร.บ. รถยนต์ให้เสร็จก่อนต่อภาษี หากเจ้าหน้าที่ตรวจสอบว่าคุณไม่มีป้ายภาษีจะมีโทษปรับตามรายละเอียดเกี่ยวกับการต่อภาษีประจำปี ไว้ดังนี้
- การใช้รถโดยไม่ต่อภาษี มีโทษปรับสูงสุด 2,000 บาท
- การไม่แสดงป้ายภาษี มีโทษปรับสูงสุด 2,000 บาท
- ถ้าไม่มีการต่อภาษีเป็นระยะเวลาที่เกิน 3 ปี จะถูกระงับทะเบียนทันที หากนำรถไปใช้จะมีความผิดตามกฎหมาย ต้องนำรถมาตรวจสภาพและยื่นขอจดทะเบียนใหม่ พร้อมชำระภาษีและค่าธรรมเนียมที่ค้างอีกด้วย
- รถที่ต้องตรวจสภาพก่อน กำหนดอายุเกินกี่ปีบ้าง
- รถจักรยานยนต์เกิน 5 ปี
- รถยนต์เกิน 7 ปี *รถติดแก๊สต้องมีใบตรวจแก๊สตัวจริง
- ต่อภาษีรถยนต์ ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง?
- เล่มทะเบียนรถยนต์ของคุณ หรือ จะเป็นสำเนาการจดทะเบียนรถยนต์ก็ได้
- เอกสาร พ.ร.บ รถยนต์ของคุณ
- ใบตรวจสภาพรถยนต์ สำหรับรถที่มีอายุเกิน 7 ปี
- ใบติดตั้งแก๊สสำหรับรถที่มีการติดตั้งแก๊ส
- เล่มทะเบียนรถยนต์ของคุณ หรือ จะเป็นสำเนาการจดทะเบียนรถยนต์ก็ได้
- เสียภาษีที่ไหนได้บ้าง
- สำนักงานขนส่งทั่วประเทศไทย (ไม่ว่ารถจะจดทะเบียนที่จังหวัดใดก็ตาม)
- เลื่อนล้อ ต่อภาษี (Drive Thru for Tax)
- ตู้รับชำระภาษีรถประจำปีอัตโนมัติ (Kiosk)
- เคาน์เตอร์เซอร์วิส ห้างสรรพสินค้าที่ร่วมโครงการช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี (Shop Thru for Tax)
- ที่ทำการไปรษณีย์
- ธนาคารพาณิชย์ที่ร่วมโครงการกับกรมการขนส่งทางบก
- เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th
- แอปพลิเคชั่น DLTVehicleTax แอปพลิเคชั่น mPay และ TrueMoneyWallet
จากที่เล่ามานี้คงจะพอไขข้อสงสัย ความแตกต่างของ พ.ร.บ กับ ภาษี และอย่าลืมนะว่ารถทุกคันต้องมีพ.ร.บ กับ ภาษี แต่จะง่ายกว่า ถ้ามีที่ปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ เพราะเรื่องรถ ๆ ไว้ใจเรา ไม่ว่าจะเดินทางไปไหนก็อุ่นใจแน่นอน ซื้อ พ.ร.บ. ออนไลน์ได้เลย คลิก