เช็กลิสต์ รายการตรวจสภาพรถยนต์ ที่จำเป็น มีอะไรบ้าง
เพราะ รถยนต์ เป็นสิ่งที่ต้องดูแลรักษาอยู่เป็นประจำ ซึ่งนอกจากการตรวจสภาพรถด้วยตัวเองแบบง่ายๆ อย่างการตรวจเช็กสภาพภายนอกและภายในรถ เช่น เช็กน้ำมันเครื่อง น้ำมันเบรก วัดลมยาง เป็นต้นแล้วนั้น เมื่อใช้งานมาสักระยะ หรือ รถยนต์มีอายุการใช้ 7 ปีขึ้นไป จำเป็นต้องทำการ ตรวจสภาพรถยนต์ ก่อนเสียภาษีรถยนต์ประจำปี กับ สถานตรวจสภาพรถเอกชน หรือ ตรอ. ทั่วประเทศที่ได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก
ทำไมรถยนต์ทุกคันจึงต้องตรวจสภาพรถยนต์
พระราชบัญญัติรถยนต์ พศ. 2522 ได้ระบุไว้ว่า “รถยนต์ที่จะนำมาใช้ในการขนส่งจะต้องมีสภาพมั่นคงแข็งแรงและมีความปลอดภัยในการใช้งาน มีเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบครบถ้วนถูกต้อง และมีขนาดตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ หากฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท” ทั้งนี้ ก็เพื่อความปลอดภัยของผู้ขับขี่รถยนต์ ผู้โดยสาร รวมถึงรถยนต์คันอื่นๆ และบุคคลภายนอกนั่นเอง
รถยนต์แบบไหน ต้องตรวจสภาพรถยนต์ประจำปี
สำหรับรถยนต์ที่ต้องตรวจสภาพรถยนต์จากสถานตรวจสภาพรถยนต์ หรือ ตรอ. คือ รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานครบ 5 ปี และ 7 ปี ตามประเภทรถที่กำหนด นับแต่วันที่จดทะเบียนครั้งแรก หากใครที่สงสัยว่า รถยนต์ ปี 2014 ต้องตรวจสภาพไหม ก็จะนับอายุรถได้ 8 ปี ซึ่งหากจะต่อภาษีรถยนต์ ก็จะต้องทำการตรวจสภาพรถยนต์ก่อน โดยรถยนต์ที่ต้องตรวจสภาพประจำปี มีดังต่อไปนี้
• รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี นับจากวันที่จดทะเบียนครั้งแรก
• รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ที่มีอายุใช้งานครบ 7 ปี นับจากวันที่จดทะเบียนครั้งแรก
• รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่มีน้ำหนักรถไม่เกิน 2,200 กก.
• รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล ที่มีอายุใช้งานครบ 5 ปี นับจากวันที่จดทะเบียนครั้งแรก
ตรวจสภาพรถยนต์ ตรอ. ต้องตรวจอะไรบ้าง
รายการตรวจสภาพรถยนต์ จะเริ่มตรวจตั้งเเต่ข้อมูลความถูกต้องของตัวรถตามข้อมูลที่จดทะเบียนไว้ในสมุดทะเบียนรถ จากนั้นก็จะตรวจสภาพรถทั้งภายใน ภายนอก และใต้ท้องรถ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลรถ
ขั้นตอนแรกในการตรวจสภาพรถยนต์กับ ตรอ. ก็คือ การตรวจสอบข้อมูลตามที่ปรากฎอยู่ในสมุดคู่มือจดทะเบียน เพื่อตรวจเช็กความถูกต้องของข้อมูล ซึ่งหากรถที่เข้าตรวจสภาพป้ายทะเบียนรถหายหรือชำรุด หมายเลขเครื่องยนต์หรือหมายเลขตัวรถมีร่องรอยการแก้ไขขูดขีด หรือมีการเปลี่ยนแปลงสี หรือตัวรถ จะไม่สามารถตรวจสภาพรถที่ ตรอ. ได้ แต่ต้องนำรถเข้าตรวจสภาพที่สำนักงานขนส่งแทน โดยรายละเอียดข้อมูลที่ต้องตรวจสอบมีดังนี้
- เลขทะเบียนรถ
- ประเภทรถ
- ลักษณะรถ
- ชนิดรถ
- แบบรถ
- รุ่นรถ
- สีรถ
- หมายเลขตัวรถ
- หมายเลขโครงคัสซี
- ชนิดเครื่องยนต์
- เลขเครื่องยนต์
- ชนิดเชื้อเพลิง
2. ตรวจภายใน-ภายนอก และอุปกรณ์ความปลอดภัย
รายการตรวจสภาพรถยนต์ ขั้นต่อมาจะทำการตรวจสอบสภาพรถทั้งภายใน ภายนอก และใต้ท้องรถ ตามหลักเกณฑ์ที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด โดยจะตรวจสภาพการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ของรถยนต์ และจะแยกตรวจเฉพาะจุดในขั้นตอนต่อไป โดยมีรายละเอียดดังนี้
2.1 การตรวจภายในรถ
- ระบบบังคับเลี้ยว, พวงมาลัย
- มาตรวัด, ไฟสัญญาณ
- สวิตช์ควบคุมไฟสัญญาณ, แตรสัญญาณ
- อุปกรณ์ปัดและฉีดทำความสะอาดกระจกกันลมหน้า
- กระจกเงาสำหรับมองหลัง
- ที่นั่งผู้ขับ, ที่นั่งผู้โดยสาร
- เข็มขัดนิรภัย
2.2 การตรวจภายนอกรถ
- โคมไฟพุ่งไกล, โคมไฟพุ่งต่ำ
- โคมไฟเลี้ยว
- โคมไฟหรี่, ไฟอื่นๆ
- กันชน
- กงล้อ และยาง
- บังโคลน
- โครงสร้างและตัวถัง
- สี
- ประตู
- กระจกด้านข้าง
- กระจกเงาสำหรับมองหลัง
- โคมไฟท้าย
- โคมไฟหยุด
- อุปกรณ์สะท้อนแสง
- โคมไฟถอยหลัง
- โคมไฟส่องป้ายทะเบียน
- โคมไฟแสดงความกว้าง, ความสูง, ไฟอื่นๆ
- กันชนท้าย
2.3 การตรวจใต้ท้องรถ
- ระบบบังคับเลี้ยว, กลไกบังคับเลี้ยว
- ระบบรองรับน้ำหนัก, สปริง, แหนบ, โช๊คอัพ
- เพลาล้อ, กงล้อและยาง
- อุปกรณ์ระบบห้ามล้อ
- โครงสร้างตัวถัง, โครงคัสซี
- ระบบส่งกำลัง, คลัทช์, เกียร์, เพลากลาง, เฟืองท้าย
- ระบบไอเสีย, เครื่องระงับเสียง
- แท่นเครื่อง, ยางแท่นเครื่อง
- อุปกรณ์ขจัดมลพิษ (Catalytic Converter)
- ระบบเชื้อเพลิง, ท่อส่งเชื้อเพลิง, ท่อส่งก๊าซ
3. ตรวจศูนย์ล้อหน้า
หลังจากตรวจสภาพการใช้งานโดยรวมของรถแล้ว จะทำการตรวจสภาพการใช้งานรถเฉพาะจุด ซึ่งรายการตรวจสภาพรถยนต์ จะเริ่มต้นจากการทดสอบศูนย์ล้อหน้าทั้งสองข้างเพื่อเช็กประสิทธิภาพของล้อรถยนต์ขณะขับขี่
4. ตรวจเบรกรถยนต์
ขั้นต่อมาคือการตรวจสอบประสิทธิภาพของ เบรกรถยนต์ ซึ่งรวมทั้งเบรกมือ และ เบรกเท้า โดยทดสอบกับเครื่องทดสอบห้ามล้อ (เบรก) ที่มีมาตรฐาน เพื่อให้ได้ผลทดสอบที่ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด
5. ตรวจไฟหน้า
สำหรับการตรวจไฟหน้ารถยนต์ จะมีการตรวจสภาพภายนอกของโคมไฟว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่ ตรวจทิศทางเบี่ยงเบนของลำแสง และวัดค่าความเข้มของแสง ไปจนถึงตำแหน่งและรูปแบบการติดตั้งต้องถูกต้องตามกฎหมาย
6. ตรวจวัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO) และก๊าซไฮโดรคาร์บอน (HC)
นอกจากนี้ยังต้องมีการตรวจวัดค่าก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) และก๊าซไฮโดรคาร์บอน (HC) โดยผลเฉลี่ยที่ได้จะต้องมีค่าก๊าซทั้ง 2 ประเภทไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนดสำหรับรถในแต่ละประเภท
7. ตรวจควันดำ
สำหรับรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซล ต้องตรวจควันดำ โดยหากใช้เครื่องมือกรองระบบกระดาษ จะต้องไม่เกินร้อยละ 50 และ หากเป็นเครื่องมือวัดระบบวัดความทึบแสง จะต้องไม่เกินร้อยละ 45
8. ตรวจระดับเสียงจากท่อไอเสีย
การตรวจระดับเสียงของท่อไอเสีย ต้องไม่เกิน 100 เดซิเบล
ตรวจสภาพรถ ราคาเท่าไร
ในการตรวจสภาพรถยนต์ที่ขนส่ง หรือ ตรอ. จะมีรายละเอียดค่าบริการตรวจสภาพรถแตกต่างกันตามประเภทและน้ำหนักรถยนต์ ดังนี้
- รถจักรยานยนต์ คันละ 60 บาท
- รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าไม่เกิน 2,000 กิโลกรัม คันละ 200 บาท
- รถยนต์ที่มีน้ำหนักรถเปล่าเกิน 2,000 กิโลกรัม คันละ 300 บาท
ตรวจสภาพรถเพื่อต่อภาษีรถยนต์ ใช้เอกสารอะไรบ้าง
สำหรับใครที่ต้องตรวจสภาพรถยนต์เพื่อนำเอกสารไปใช้ในการต่อภาษีรถยนต์ประจำปีละก็ จะต้องใช้เอกสารดังต่อไปนี้
- สมุดเล่มทะเบียนรถ หรือสำเนาทะเบียนรถ
- พ.ร.บ.รถยนต์ ที่ยังไม่หมดอายุ
- หนังสือรับรองการตรวจและทดสอบส่วนควบและอุปกรณ์ (สำหรับรถติดตั้งแก๊ส LPG หรือ NGV)
- หนังสือรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์ที่อายุเกิน 7 ปี และรถจักรยานยนต์ที่อายุเกิน 5 ปี)
วิธีค้นหาสถานตรวจสภาพรถใกล้ฉัน
ปัจจุบันนี้มีสถานตรวจสภาพรถยนต์อยู่ทั่วประเทศ โดยไม่จำเป็นต้องไปทำการตรวจสภาพรถยนต์ที่กรมขนส่งเพียงที่เดียว แต่หากใครที่ไม่รู้ว่าจะไปหาที่ ตรวจสภาพรถใกล้ฉัน ที่ไหนดี เราสามารถค้นหา สถานตรวจสภาพรถ ตรอ. ใกล้บ้าน หรือ ค้นหา ตรวจสภาพรถ ใกล้ฉัน ได้ง่ายๆ ด้วยการเข้าเว็บไซต์ Google และพิมพ์คำว่า “ศูนย์ตรวจสภาพรถ ใกล้ฉัน” ก็จะปรากฏสถานที่ตรวจสภาพรถยนต์ ตรอ. ที่ใกล้กับตำแหน่งปัจจุบันของคุณ จากนั้นก็สามารถคลิกดูรายละเอียดและที่ตั้งของสถานตรวจสภาพรถนั้นๆ ได้ตามต้องการ
เมื่อได้ทราบกันไปแล้วว่า รายการตรวจสภาพรถยนต์ ที่จำเป็น มีอะไรบ้าง พร้อมวิธีค้นหา สถานตรวจสภาพรถใกล้ฉัน แบบง่ายๆ เพียงเท่านี้ การตรวจสภาพรถยนต์ สำหรับการต่อภาษีรถยนต์ประจำปี ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป โดยสามารถตรวจสภาพรถยนต์ล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน ก่อนที่ภาษีรถยนต์หมดอายุ
และเมื่อทำการต่อภาษีรถยนต์ หรือ ต่อทะเบียนรถยนต์เรียบร้อยแล้ว ก็อย่าลืมขับขี่รถยนต์อย่างปลอดภัย ไม่ประมาท ถ้าจะให้ดี TIPINSURE ขอแนะนำว่าควรทำประกันรถยนต์ไว้เพื่อความอุ่นใจ โดยเฉพาะ ประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่คุ้มครองครอบคลุม ตอบโจทย์ทุกการขับขี่บนท้องถนน โดยสามารถ คลิกที่นี่ เพื่อเช็กราคาประกันรถยนต์ หรือ ซื้อประกันรถยนต์ ออนไลน์ ผ่าน TIPINSURE ง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว ราคาเริ่มต้นเพียง 4,900 บาทต่อปี เช็กราคาเลย!