บอกหมด! ภาษีรถยนต์ต่อที่ไหน มีขั้นตอนอย่างไร ใช้เอกสารอะไรบ้าง
02 พฤศจิกายน 2022
ผู้ชม: 28294 คน

บอกหมด! ภาษีรถยนต์ต่อที่ไหน มีขั้นตอนอย่างไร ใช้เอกสารอะไรบ้าง

          ภาษีรถยนต์ถือเป็นสิ่งจำเป็นที่เจ้าของรถยนต์ต้องทำความรู้จักเอาไว้ เพราะจะต้องทำการต่อภาษีรถยนต์ในทุกๆ ปี ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบที่คนมีรถยนต์ต้องทำ โดยการต่อภาษีรถยนต์มีขั้นตอนอย่างไร ต้องเตรียมเอกสารต่อภาษีรถยนต์อะไรไปบ้าง และสามารถต่อได้ที่ไหน เรามีบอกหมดในบทความนี้

ภาษีรถยนต์คืออะไร ทำไมต้องต่อ?

ภาษีรถยนต์ คือ การที่เจ้าของรถยนต์จะต้องชำระภาษีรถยนต์เพื่อสนับสนุนหน่วยงานคมนาคมให้บำรุงรักษา ซ่อมแซม หรือสร้างถนนหนทางทั่วประเทศที่เราใช้สัญจรให้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังนำภาษีส่วนนี้ไปปรับปรุงการคมนาคมอื่นๆ อีกด้วย ซึ่งถ้าหลีกเลี่ยงไม่ต่อภาษีรถยนต์ก็จะมีโทษทางกฎหมาย ทั้งโดนค่าปรับเป็น 1% ของภาษีรถยนต์ต่อเดือน ไปจนถึงถูกระงับทะเบียนรถยนต์ชั่วคราวได้นั่นเอง

 

ต่อภาษีรถยนต์ได้ที่ไหนบ้าง

  1. สำนักงานขนส่งใกล้บ้าน ทั้งยังสามารถไปใช้บริการที่ทางกรมขนส่งอำนวยความสะดวกให้ นั่นก็คือ เลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru for Tax) และ ตู้รับชำระภาษีรถประจำปีอัตโนมัติ (Kiosk) ใช้บริการได้ในวันจันทร์ - วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 08.30 - 16.30 น.
  2. ที่ทำการไปรษณีย์ ซึ่งสามารถไปใช้บริการได้ในวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 08.00 - 18.00 น. และวันเสาร์ วันอาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันหยุดชดเชย เวลา 09.00 - 17.00 น.
  3. เคาท์เตอร์เซอร์วิส โดยสามารถสอบถามเวลาให้บริการได้ที่เคาท์เตอร์เซอร์วิสที่เราสะดวกไป
  4. ช่องทางออนไลน์ของกรมการขนส่ง ในเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก eservice.dlt.go.th และทางแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax
  5. แอปพลิเคชัน mPay และ Truemoney Wallet โดยจะต้องเป็นรถที่ไม่มีการค้างชำระ หรือถูกระงับทะเบียน และเป็นรถที่ไม่ใช้ก๊าซเท่านั้น

 

ขั้นตอนการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์

          หากต้องการต่อภาษีรถยนต์ใช้เอกสารอะไรบ้าง การต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ สามารถดำเนินการต่อได้ทั้งในเว็บไซต์และแอปพลิเคชันของกรมการขนส่งทางบก ดังนี้

  • ขั้นตอนการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก

  1. เข้าไปที่เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th  กรณีที่ยื่นภาษีออนไลน์เป็นครั้งแรก จะต้องลงทะเบียนสมัครเพื่อเข้าใช้งานเว็บไซต์ให้เรียบร้อยก่อน 
  2. กดเลือกเมนู ตรงที่ระบุว่า ยื่นชำระภาษีรถยนต์ประจำปี 
  3. กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถยนต์และการยื่นชำระภาษีให้ถูกต้อง กรอกรายละเอียดหลักฐานการเอาประกันตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 หรือซื้อจากระบบ 
  4. จากนั้นให้กดเลือกช่องทางชำระเงินที่เราสะดวก ซึ่งมีหลายช่องทางการชำระ ทั้งหักผ่านบัญชีเงินฝาก, บัตรเครดิตหรือเดบิต, เคาน์เตอร์เซอร์วิส หรือตู้ ATM ของธนาคารที่เข้าร่วม 
  5. หลังจากชำระเงินเรียบร้อยแล้ว กรมการขนส่งทางบกจะส่งใบเสร็จรับเงิน พร้อมเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีทางไปรษณีย์มาให้เราตามที่อยู่
  • ขั้นตอนการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ ผ่านแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax
  1. เข้าไปดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax จาก App Store และ Play Stor 
  2. กรอกข้อมูลส่วนตัวของเราให้ถูกต้องและครบถ้วน  แล้วเลือกหัวข้อที่ระบุว่า กดเพื่อรับรหัส OTP 
  3. รอรับรหัส OTP และกรอกรหัส OTP ที่ได้รับจากอีเมล แล้วจึงกดยืนยัน 
  4. ทำการตั้งรหัส PIN 6 หลัก 
  5. หลังจากลงทะเบียนเสร็จ ให้กดเลือกเมนูที่ระบุว่า ชำระภาษีรถ 
  6. ให้ทำการเลือกรูปแบบชำระภาษีที่ต้องการ 
  7. กรอกข้อมูลหมายเลขบัตรประชาชน หรือ เลขทะเบียนนิติบุคคลของเจ้าของรถยนต์ 
  8. กดเลือกประเภทรถยนต์ที่ต้องชำระภาษี และกรอกข้อมูลทะเบียนรถยนต์ กรอกข้อมูลประกันภัยรถยนต์ (พ.ร.บ.) 
  9. จากนั้นให้กดเลือกรับเครื่องหมายการเสียภาษีรถประจำปีทางไปรษณีย์ 
  10. ทำการชำระเงิน โดยมีเพียง 2 ช่องทางให้เลือก คือ SCB Easy App และ QR ชำระเงิน

 

ต่อภาษีรถยนต์ใช้เอกสารอะไรบ้าง

  1. เอกสารต่อภาษีรถยนต์ที่ขาดไม่ได้คือ หนังสือแสดงการจดทะเบียนรถยนต์ หรือเล่มทะเบียนรถยนต์
  2. เอกสาร พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์
  3. หลักฐานการผ่านการตรวจสภาพรถยนต์
  4. กรณีขาดต่อภาษีเกิน 3 ปีจะต้องมีเอกสารเพิ่มเติม คือ สำเนาบัตรประชาชน, หลักฐานการระงับทะเบียน (กรณียื่นขอระงับ), เอกสารอื่นๆ ตามที่ขนส่งต้องการ

 

อัตราภาษีรถยนต์แต่ละประเภทต้องจ่ายเท่าไร

สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถเก๋ง รถกระบะ รถอเนกประสงค์ SUV ที่มีเบาะนั่งได้ไม่เกิน 7 คน มีการคำนวณอัตราภาษีรถยนต์ ดังนี้

  • ขนาดเครื่องยนต์ 1-600 ซีซี คิดเป็น ซีซี ละ 50 สตางค์
  • ขนาดเครื่องยนต์ 601-1,800 ซีซี คิดเป็น ซีซี ละ 1.50 บาท
  • ขนาดเครื่องยนต์ 1,801 ซีซี ขึ้นไป คิดเป็น ซีซี ละ 4 บาท

 

และในกรณีเมื่อรถมีการใช้งานเกินกว่า 5 ปีขึ้นไป จะมีการเสียภาษีรถยนต์ลดลงตามสัดส่วน ดังนี้

  • รถยนต์อายุเกิน 6 ปี จะได้รับการลดภาษีลง 10%
  • รถยนต์อายุเกิน 7 ปี จะได้รับการลดภาษีลง 20%
  • รถยนต์อายุเกิน 8 ปี จะได้รับการลดภาษีลง 30%
  • รถยนต์อายุเกิน 9 ปี จะได้รับการลดภาษีลง 40%
  • รถยนต์อายุเกิน 10 ปี จะได้รับการลดภาษีลง 50%
  •  

ขาดต่อภาษีรถยนต์ได้กี่วัน?

ขาดต่อภาษีรถยนต์ได้กี่วัน?สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ล่วงหน้า 90 วัน ก่อนที่ภาษีรถยนต์จะหมดอายุ และถ้าเกินกำหนดต่อภาษีรถยนต์จะต้องเสียค่าปรับร้อยละ 1% ของภาษีรถยนต์ต่อเดือนจนถึงวันที่ไปทำการชำระ

หากขาดต่อภาษีรถยนต์จะเกิดอะไรขึ้น

หากชำระล่าช้าจะมีความผิดทางกฎหมาย โดยจะต้องเสียค่าปรับเป็น 1% ของภาษีรถยนต์ต่อเดือน และในรายที่ชำระล่าช้าหรือเลี่ยงชำระเกิน 3 ปี ทางกรมการขนส่งทางบกจะทำการระงับทะเบียนรถยนต์ในทันที

 

ภาษีรถยนต์หมดอายุ เคลมประกันรถยนต์ได้ไหม?

กรณีที่ผู้ทำประกันรถยนต์เกิดอุบัติเหตุ หรือเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดบนท้องถนน โดยที่พบว่า ภาษีรถยนต์หมดอายุ ผู้ทำประกันรถยนต์สามารถเคลมกับบริษัทประกันรถยนต์ได้ แต่ทั้งนี้จะต้องดูเงื่อนไขในกรมธรรม์ที่ได้ทำไว้ร่วมด้วย

หากภาษีรถยนต์หมดอายุ หรือ ขาดการต่ออายุ พ.ร.บ. รวมถึงไม่ได้พกใบขับขี่มาในขณะเกิดเหตุไม่คาดคิด อาจทำให้คุณไม่ได้รับความคุ้มครองได้เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น ดังนั้นไม่ควรปล่อยให้ใบขับขี่หรือ พ.ร.บ. ของคุณหมดอายุ ปัจจุบันก็สามารถต่อใบขับขี่ล่วงหน้า รวมถึงสามารถต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ล่วงหน้าได้กับ TIPINSURE อย่างง่ายดาย ในราคาเริ่มต้นเพียง 569 บาทเท่านั้น เพื่อให้คุณสามารถขับขี่ได้อย่างอุ่นใจทั้งกับตัวคุณเองและผู้ใช้รถใช้ถนนร่วมกัน

 

และหากใครที่อย่างเพิ่มความมั่นใจในการขับขี่บนท้องถนนมากขึ้น การสมัครใช้ประกันรถยนต์ชั้น 1 ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ตอบโจทย์อย่างยิ่ง เพื่อให้คุณได้รับความคุ้มครองต่อความเสียหายทั้งรถ คนขับ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอก โดยที่ไม่ต้องคอยมาเป็นกังวล เพราะ TIPINSURE จะดูแลคุณให้ปลอดภัย สบายใจตลอดการขับขี่ สามารถติดต่อมาหาเราได้ที่  www.TIPINSURE.com เบี้ยเริ่มต้นเพียง 4,900 บาท/ปีเท่านั้น อีกทั้งมีแผนประกันรถยนต์ให้เลือกหลากหลายตามไลฟ์สไตล์การขับขี่อีกด้วย

 

#Tag: