มือใหม่หัดขับ ควรรู้! 10 เทคนิค ฝึกขับรถออโต้
ปัจจุบันนี้ คนส่วนใหญ่หันมาใช้รถยนต์เกียร์ออโต้ หรือ เกียร์อัตโนมัติกันมากขึ้น เพราะว่าขับง่ายและสะดวกสบายกว่าการขับรถเกียร์ธรรมดา ไม่ซับซ้อน ไม่ต้องคอยเปลี่ยนเกียร์บ่อยๆ แต่สำหรับ มือใหม่หัดขับ อาจรู้สึกกังวลว่าการขับรถนั้นเป็นเรื่องยาก แต่จริงๆ แล้วไม่ยากอย่างที่คิด วันนี้ TIPINSURE เลยได้นำเทคนิคเคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วยให้คุณสามารถ ฝึกขับรถออโต้ ได้อย่างมั่นใจเหมือนมืออาชีพ แม้ว่าคุณจะเพิ่งเริ่มหัดขับรถกี่วันก็ตาม พร้อมความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรถยนต์ที่มือใหม่ทุกคนควรรู้ เพื่อการขับขี่อย่างปลอดภัยบนท้องถนน
รถยนต์เกียร์ออโต้ หรือ เกียร์อัตโนมัตินั้น ขับง่ายกว่ารถยนต์เกียร์กระปุกหรือเกียร์ธรรมดา แต่ก็มีเทคนิคเคล็ดลับการขับรถยนต์ที่ใครหลายคนอาจยังไม่รู้ โดยเฉพาะ มือใหม่หัดขับ ที่กำลังฝึกขับรถออโต้ และไม่เคยมีความรู้เกี่ยวกับรถยนต์มาก่อน ควรต้องเรียนรู้ทักษะ รวมถึงรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. เรียนรู้ตำแหน่งต่างๆของเกียร์ออโต้
มือใหม่หัดขับ ฝึกขับรถออโต้ ควรศึกษารถยนต์ที่ต้องใช้ในการขับขี่ ไม่ว่าจะเป็น ปุ่มต่างๆ ระบบไฟ ระบบแอร์ ฯลฯ แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือ ระบบเกียร์ออโต้ ที่ทุกคนควรรู้ ซึ่งในรถเกียร์ออโต้ จะมีตำแหน่งเกียร์ต่างๆ ดังนี้
1. P (Parking) ใช้สำหรับจอดรถ ซึ่งจะช่วยล็อคล้อไว้ไม่ให้รถเคลื่อน โดยเราควรเปลี่ยนเกียร์มาที่ P เมื่อต้องการสตาร์ทรถ หรือ เมื่อรถจอดนิ่งสนิทแล้วและต้องการดับเครื่อง หรือ ใช้เกียร์ P เมื่อจอดบนทางลาดชัน พร้อมดึงเบรกมือเสริมด้วยป้องกันเกียร์พัง
2. R (Reverse) คือ เกียร์ถอยหลัง ซึ่งรถยนต์จะทำการถอยหลังเองช้าๆ โดยไม่ต้องเหยียบคันเร่งเพิ่ม พร้อมกับวางเท้าที่แป้นเบรก เตรียมตัวเหยียบเบรกไว้ด้วย จะช่วยให้ขับรถถอยหลังได้อย่างปลอดภัย
3. N (Neutral) คือ เกียร์ว่าง ใช้เมื่อต้องการจอดรถไว้ชั่วคราว เช่น จอดรถติดไฟแดง หรือ จอดรถในห้างที่ต้องจอดขวางหน้ารถคันอื่น เพราะเมื่อเกียร์อยู่ในตำแหน่ง N รถจะสามารถถูกเข็นไปได้นั่นเอง
4. D (Drive) หรือ D4 คือ เกียร์เดินหน้าที่ใช้ในการขับขี่ปกติ โดยเมื่อเปลี่ยนเกียร์มาที่ D แล้ว รถจะเริ่มออกตัว แล่นไปเองอย่างช้าๆ และเมื่อเหยียบคันเร่ง รถจะเริ่มเปลี่ยนเกียร์เองอัตโนมัติ โดยเริ่มจากเกียร์ 1 แล้วไปเกียร์ 2 แล้วไปเกียร์ 3 จนถึงสูงสุดที่เกียร์ 4 ขึ้นอยู่กับความเร็วของรถ
5. D3 เป็นเกียร์ที่ส่วนใหญ่ใช้ในการขับขึ้น-ลงเนินที่ไม่ชันมาก เช่น ขึ้นสะพาน นอกจากนี้เรายังใช้ในกรณีที่ต้องการเร่งแซงรถที่อยู่ข้างหน้าด้วย โดยขณะที่รถวิ่งด้วยตำแหน่งเกียร์ D4 เป็นระยะเวลานาน เมื่อเปลี่ยนเป็นเกียร์ D3 จะทำให้เครื่องยนต์มีกำลัง ทำให้เครื่องแรงและสามารถแซงไปได้อย่างรวดเร็ว
6. 2 หรือ D2 คือ ใช้งานในขณะที่ขับขี่รถยนต์ในเส้นทางที่มีความลาดชัน แต่ไม่สูงมาก และยังสามารถใช้ความเร็วได้พอสมควร
7. L (Low) ใช้ในการขับรถขึ้น-ลง เส้นทางที่มีความลาดชันสูง และต้องใช้ความเร็วต่ำในการขับขี่ เมื่อลงเขาด้วยเกียร์ L จะเป็นการใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรก หรือ Engine Brake เพื่อลดการเหยียบเบรกบ่อยๆ ที่อาจจะทำให้ผ้าเบรกหมดเร็วได้
2. เหยียบเบรกก่อนสตาร์ทเครื่อง รถเกียร์ออโต้
ข้อสำคัญก่อนสตาร์ทรถทุกครั้งสำหรับมือใหม่หัดขับ คือ ควรเช็คให้ดีก่อนว่าเราเข้าเกียร์อยู่ในตำแหน่งเกียร์ P หรือไม่ เพื่อที่จะมั่นใจได้ว่ารถจอดอยู่สนิทจริงๆ เพราะหากเราเข้าเกียร์อื่นไว้ก่อนดับเครื่อง เช่น เกียร์ D เกียร์ N หรือเกียร์ R หากเริ่มสตาร์ทรถอีครั้ง จะทำให้รถเคลื่อนที่ตามเกียร์ที่เราเข้าไว้ และอาจส่งผลให้เกิดอันตรายตามมาได้ และเมื่อต้องการสตาร์ทรถ ให้วางเท้าขวาบนแป้นเบรกและเหยียบลงไป จากนั้นเสียบกุญแจและบิดตามเข็มนาฬิกาเพื่อสตาร์ทรถ
3. ขับรถเกียร์ออโต้ ใช้เพียงเท้าเดียวเท่านั้น
ในการขับรถเกียร์ออโต้ ควรใช้เท้าขวาเพียงเท้าเดียวในการควบคุมคันเร่งและเบรก โดยแป้นเบรกจะอยู่ทางซ้าย ส่วนคันเร่งจะอยู่ทางขวา เพื่อจะได้ควบคุมความเร็วของรถได้อย่างปลอดภัย ไม่สับสน และช่วยป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่ตั้งใจ
4. เข้าเกียร์ D และเหยียบคันเร่งเบาๆ เพื่อออกตัว
เหยียบเบรกให้รถหยุดสนิท แล้วเข้าเกียร์ D จากนั้นค่อยๆ ปล่อยแป้นเบรก ให้รถเคลื่อนตัวอย่างช้าๆ แล้วใช้เท้าข้างเดิมค่อยๆ เหยียบคันเร่งเพื่อเริ่มความเร็วในการขับรถ
5. เข้าเกียร์ N เมื่อรถติดไฟแดง
มือใหม่หัดขับหลายคนอาจสงสัย เวลารถจอดติดไฟแดง ควรเข้าเกียร์อะไร ซึ่งหากเป็นแยกไฟแดงที่จอดไม่นานมากนัก สามารถใช้เกียร์ N ได้ แต่ต้องเหยียบเบรกไว้จนกว่าจะมั่นใจว่ารถหยุดนิ่งจริงๆ ไม่มีเนิน หรือ พื้นต่างระดับ ที่ทำให้รถไหลไปข้างหน้าหรือถอยหลังไปชนคันอื่นได้ เพราะหากเข้าเกียร์ P ไว้ขณะติดไฟแดง ตัวล็อกในชุดเกียร์ก็จะทำงาน ทำให้เมื่อเกิดอุบัติถูกชนท้ายขึ้นมา จะก่อให้เกิดความเสียหายกับชุดเกียร์มากขึ้น
6. เข้าเกียร์ P เมื่อจอดรถอยู่กับที่
แต่ในกรณีที่จอดรถนานๆ หรือ ต้องการจอดอยู่กับที่ จอดที่บ้าน หรือลานจอดรถในห้าง ให้ใช้เกียร์ P ซึ่งรวมถึงกรณีลงไปซื้อริมทาง หรือ จอดรถเพื่อลงไปเปิดประตูบ้าน ก็ควรใช้เกียร์ P เพื่อป้องกันรถไหล และควรดับเครื่องยนต์ไว้ด้วย ป้องกันมิจฉาชีพมาสวมรอยขับรถของคุณออกไปนั่นเอง
7. เข้าเกียร์ R เพื่อถอยหลัง
หากต้องการขับรถถอยหลัง ให้เหยียบเบรกค้างไว้แล้วเลื่อนเกียร์มาที่ตำแหน่ง R จากนั้นค่อยๆ ผ่อนเบรก รถจะค่อยๆ ถอยหลังเอง หรือเหยียบคันเร่งเพื่อเพิ่มความเร็ว โดยท้ายรถจะเลี้ยวไปในทิศทางเดียวกันกับที่เราหมุนพวงมาลัย
8. ไม่ควรขับลากเกียร์
รถยนต์เกียร์อัตโนมัติ ในตำแหน่งเกียร์ D จะมี ECU หรือสมองกลไฟฟ้าคอยควบคุมการเปลี่ยนเกียร์ให้มีความเหมาะสมกับความเร็วของรถอยู่แล้ว ซึ่งหากมีการขับรถลากเกียร์ หรือ เปลี่ยนเกียร์เองเพื่อต้องการอัตราเร่งที่เพิ่มขึ้น หรือ ต่ำกว่ารอบความเร็ว จะส่งผลให้คลัตช์ และระบบเกียร์รถยนต์ สึกหรอได้อย่างรวดเร็ว
9. ไม่ขับแบบคิกดาวน์บ่อยๆ
การคิกดาวน์เป็นการเหยียบคันเร่งจนเกือบจะมิด เพื่อเป็นการเร่งความเร็วให้กับรถ มักใช้ขณะที่ขับแซงรถคันอื่น ซึ่งจะทำให้รถเปลี่ยนเกียร์ลงมาต่ำ เพื่อเร่งรอบเครื่องยนต์ให้รถพุ่งแรงขึ้นกว่าปกติ แต่หากทำบ่อยๆ จะทำให้ผ้าคลัตช์ของเกียร์ทำงานหนักและพังเร็วได้
10. ไม่ควรเข้าเกียร์ N เพื่อปล่อยให้รถไหลเอง
หลายคนมีความเชื่อว่าหากเข้าเกียร์ N แล้วปล่อยให้รถไหลไปเอง ก่อนจะถึงไฟแดง นั้นช่วยให้รถประหยัดน้ำมัน แต่จริงๆ แล้วเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะจะยิ่งทำให้ระบบเกียร์ออโต้เสียหายและเสื่อมสภาพเร็วขึ้น แถมยังไม่ได้ช่วยประหยัดน้ำมันเลยอีกด้วย
และนี่ก็คือ เทคนิค ฝึกขับรถออโต้ สำหรับ มือใหม่หัดขับ ที่เรานำมาฝากกัน ต้องบอกเลยว่าไม่ยากอย่างที่คิด แต่สิ่งที่สำคัญในการขับรถนั้นก็คือ ควรมีสติลอดเวลา ไม่ประมาท เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ทุกเมื่อ ยิ่งหากได้ขับรถออกถนนใหญ่แล้ว ยิ่งต้องระวังให้มากๆ เพื่อความอุ่นใจในการขับขี่ ควรมี ประกันรถยนต์ชั้น 1 ติดรถไว้ หากเกิดเหตุเฉี่ยวชนใดๆ ก็ยังได้รับความคุ้มครอง ทั้งค่ารักษาพยาบาลของผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร คู่กรณี รวมถึงยังซ่อมรถทั้งเขาทั้งเราอีกด้วย
หากใครสนใจ ประกันรถยนต์ ให้ทิพยประกันภัยช่วยดูแล เพราะนอกจากจะมีแผนประกันรถยนต์ให้เลือกหลากหลายแล้ว ประกันรถยนต์ชั้น 1 ยังมีราคาสบายกระเป๋า ราคาเริ่มต้นเพียง 4,900 บาท/ปี เพียง คลิกที่นี่ และสามารถซื้อประกันรถยนต์ ออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ TIPINSURE ได้ง่ายๆ หรือ เช็กราคา เปรียบเทียบประกันรถยนต์ได้ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง