กฎจราจรคนไทยชอบฝ่าฝืนมากที่สุด
27 กันยายน 2024
ผู้ชม: 360 คน

กฎจราจรคนไทยชอบฝ่าฝืนมากที่สุด

ถึงแม้จะผ่านการอบรมและการสอบใบขับขี่มาแล้ว แต่ก็ยังมีคนอีกจำนวนหนึ่งที่มักจะขับรถฝ่าฝืนกฎอยู่เสมอ มีหลายคนมองข้ามไม่ปฏิบัติตามกฎจราจรบ่อยครั้ง ทำกันจนเป็นความเคยชิน ทั้งที่เกิดจากความตั้งใจหรือความไม่ใส่ใจก็ตาม สุดท้ายแล้วก็เกิดเหตุการณ์บานปลายขึ้นทั้งอุบัติเหตุ ทะเลาะวิวาท TIPINSURE ได้รวบรวมกฎจราจรชอบฝ่าฝืนกันเป็นประจำ 

 

1. ใช้ความเร็วเกินกฎหมายกำหนด

ขอยกเป็นหนึ่งในกฎจราจรที่ฝ่าฝืนกันบ่อยที่สุดคือ การขับรถเร็วเกินที่กฎหมายกำหนด นอกจากจะเป็นอันตรายต่อผู้ขับขี่ และผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่นๆ แล้ว ยังเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายจราจรที่กำหนดให้รถยนต์ใช้ความเร็ว ตามถนนหลวงข้ามเมืองหรือข้ามจังหวัดให้ใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 90 กม./ชม. ยกเว้นทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 กรุงเทพฯ-พัทยา กับทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 หรือถนนกาญจนาภิเษก ที่จะอนุญาตให้รถยนต์นั่งใช้ความเร็วได้ไม่เกิน 120 กม./ชม. เมื่อต้องใช้รถใช้ถนนร่วมกันกับผู้อื่น ควรขับให้อยู่ในความเร็วที่พอเหมาะกับสถานการณ์นั้นๆ 

  • โดยอัตราโทษฐานขับรถเร็วเกินอัตราที่กฏหมายกำหนด ปรับสูงสุด 4,000 บาท และโดนตัดคะแนนความประพฤติทันที 1 คะแนน

 

2. ขับผ่าไฟแดง

ห้ามขับรถฝ่าไฟแดง กฎหมายจราจรพื้นฐานที่ผู้ขับขี่รถยนต์ทุกคนทราบกันดี แต่มีผู้ขับขี่มักฝ่าฝืนกันมากที่สุด ที่มักเกิดจากการจราจรที่ติดขัดหรือความเร่งรีบ แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามการขับรถฝ่าไฟแดงทำให้เกิดอันตรายกับผู้ใช้ท้องถนนคนอื่นได้ 

  • โดยมีอัตราโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 4,000 บาท และโดนตัดคะแนนความประพฤติทันที 2 คะแนน 

 

3. ขับผ่านทางม้าลายโดยไม่จอด

ยังมีหลายคนอาจไม่ทราบว่าตามกฎหมายระบุไว้ชัด เมื่อขับรถเข้าใกล้บริเวณทางข้าม แต่ไม่มีคนข้ามทางข้าม ถ้าเจอทางม้าลายผู้ขับขี่ต้องชะลอและเตรียมหยุดรถให้คนเดินข้ามถนนก่อน และห้ามจอดรถบนทางม้าลายและต้องจอดให้ห่างจากทางม้าลายอย่างน้อย 3 เมตร

  • ในกรณีที่ผู้ขับขี่รถไม่หยุดให้คนข้ามทางม้าลายมีโทษปรับไม่เกิน 4,000 บาท และโดนตัดคะแนนความประพฤติทันที 1 คะแนน 

 

4. ขับแช่ชวา

เนื่องจากเลนขวา เป็นเลนที่มีไว้สำหรับรถที่ขับเร็ว หรือรถที่ต้องการแซงเท่านั้น การขับรถแช่ขวาจึงเป็นการกระทำที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ขับขี่และยังอาจทำให้รถติดมากขึ้นได้อีกด้วย ฉะนั้นขับช้ากว่าวิ่งเลนซ้ายหรือเลนกลาง เพื่อให้รถที่ขับมาเร็วกว่าได้ไปก่อนนะ

  • โดยมีอัตราโทษปรับสูงสุด 1,000 บาท โดยเจตนารมณ์ของกฎหมาย มีเจตนาให้ผู้ขับขี่ปฎิบัติตามเพื่อความปลอดภัยทั้งส่วนตัว และต่อส่วนรวม

 

5. ขับแซงเส้นทึบ

อีกหนึ่งกรณีที่พบเห็นได้บ่อย ส่วนใหญ่มีทั้งรู้และไม่รู้ การขับแซงมีข้อกฎหมายบังคับอย่างชัดเจน หากเป็นเส้นประแสดงว่าคุณสามารถแซงได้ แต่ถ้าเป็นเส้นทึบเป็นพื้นที่ห้ามขับแซง (หรือถ้าเป็นเส้นสองเส้นคู่กัน เส้นประข้างนึง และอีกข้างนึงเป็นเส้นทึบ ข้างที่เป็นเส้นประสามารถแซงได้แต่ข้างที่เป็นเส้นทึบแซงไม่ได้) 

  • การแซงในเส้นทึบมีโทษปรับ 400 - 1,000 บาท

 

6. ขับแซงซ้าย

ขับแซงซ้ายกลายเป็นเรื่องที่เห็นเป็นประจำบนท้องถนนในบ้านเราไปแล้วและเชื่อว่ามีหลายคนที่ขับรถแซงซ้ายอยู่เป็นประจำด้วยเช่นกัน ทำจนเป็นความเคยชินเพราะคิดว่าการแซงซ้ายไม่ถือว่าเป็นการกระทำที่ผิด แต่หรือรู้ไม่ว่าการแซงซ้ายนั้นผิดกฎหมายจราจรแน่นอน แถมยังมีโอกาสเกิดอุบัติได้จากจุดอับสายตา และระยะการมองเห็นทางซ้ายที่ลดลงจะทำให้ผู้ขับขี่มองไม่เห็นว่ามีรถอยู่ด้านหน้า 

  • มีโทษปรับ 400 - 1,000 บาท

 

7. เปลี่ยนช่องจราจรกะทันหัน

การเปลี่ยนช่องการจราจรอย่างกะทันหัน ตัดหน้ารถยนต์คันอื่นในระยะกระชั้นชิด  โดยไม่เปิดไฟเลี้ยวเตือนคันที่ตามหลังมา เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนบ่อยครั้งมาก ซึ่งมีให้เห็นอยู่บ่อยครั้งบนท้องถนน

 

8. จอดในที่ห้ามจอด

เป็นปัญหาที่เห็นได้บ่อยมากจากความมักง่าย อย่างจอดซื้อของ จอดแวะรับคน หรือจอดขนสิ่งของขึ้นรถ โดยเฉพาะบริเวณตลาด เขตชุมชน หรือซอยทางแคบเป็นเลนสวน แถมฟุตบาทก็มีสีขาว-แดงเตือน ก็ยังมีคนจอดกันแบบไม่เกรงกลัวกฎหมาย

  • นำรถไปจอดในพื้นที่ที่ห้ามจอดรถมีโทษปรับสูงสุด 2,000 บาท และโดนตัดคะแนนความประพฤติทันที 1 คะแนน 

 

ใครที่อ่านแล้วรู้ตัวว่าฝ่าฝืนกฎบ่อยๆ จะได้ปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น ส่วนใครที่แทบจะไม่ผิดกฎจราจรข้อใดเลย ก็ขอชื่นชม และอย่าลืมว่าหากฝ่าฝืนจะมีทั้งโทษค่าปรับ หรือจำคุก รวมไปถึงการโดนตัดแต้มความประพฤติใบขับขี่ หากคะแนนความประพฤติเหลือ 0 คะแนน จะได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ ดังนั้นใช้รถใช้ถนนควรเคารพกฏจราจรอย่างเคร่งครัดกันนะ

อย่าลืมต่อประกันรถยนต์จะได้ไม่หวั่นแม้เจอเหตุการณ์ไม่คาดฝัน แนะนำประกันรถยนต์ TIPINSURE สามารถเลือกแผนความคุ้มครองให้ตรงตามความต้องการมากที่สุด เปรียบเทียบราคาและสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ TIPINSURE.COM หรือโทร. 1736 

#Tag: