รถชนกัน รู้ได้อย่างไรว่าใครเป็นฝ่ายถูกหรือผิด
07 พฤษภาคม 2023
ผู้ชม: 11504 คน

เมื่อรถชนกันเราเป็นฝ่ายถูกหรือผิดเช็กได้อย่างไร

อุบัติเหตุทางรถยนต์ถือเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิด เพราะเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้เสียทั้งเวลา เสียเงิน และอาจลุกลามไปถึงชีวิตได้เลยทีเดียว โดยส่วนใหญ่การชนกันแบบมีคู่กรณีมักจะเกิดจาก 2 ฝ่ายขึ้นไป แน่นอนว่าในกรณีเหล่านี้ต้องมีที่มีทั้งคนที่เป็นฝ่ายผิดและฝ่ายถูก แต่ทั้งนี้ก็คืออยู่กับรูปเหตุการณ์ว่ามีต้นสายปลายเหตุมาจากอะไรบ้าง ซึ่งเรื่องเหล่านี้สามารถพิสูจน์ได้ว่ารถชนกันเราเป็นฝ่ายถูกหรือผิดกันแน่ วันนี้ TIPINSURE จะมาขยายความให้คุณได้เข้าใจกันมากขึ้นว่าเรามีวิธีสันนิษฐานอย่างไรบ้าง พร้อมแนะนำวิธีรับมือเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันแบบนี้

ถ้าเกิดเหตุการณ์รถชนท้ายกันเราเป็นฝ่ายถูกหรือผิด

ผู้คนส่วนใหญ่มักจะชอบมองว่ารถคันที่ชนท้ายคือฝ่ายผิดเป็นอันดับแรกๆ และถ้าหากว่ากันตามกฎหมาย พ.ร.บ. จราจร พ.ศ. 2522 มาตรา 40 ระบุเอาไว้ว่า “ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ห่างคันหน้าพอสมควรในระยะที่หยุดรถได้โดยปลอดภัยเมื่อจำเป็นต้องหยุดรถ” ซึ่งตามจริงแล้วอาจไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป เพราะขึ้นชื่อว่าอุบัติเหตุก็จะต้องมีต้นเหตุที่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยการดูจากปัจจัยร่วม ณ เวลานั้นมาประกอบการพิจารณาความผิดด้วยเพื่อให้ความยุติธรรมของทั้ง 2 ฝ่าย

 

เพื่อให้เห็นภาพขององค์ประกอบต่างๆ ได้อย่างชัดเจนมากขึ้น TIPINSURE ขออธิบายด้วย 4 สถานการณ์ที่มีความเป็นไปได้ และเกิดขึ้นมากที่สุดดังต่อไปนี้

1. ชนท้ายเพราะคันหน้าเบรกกะทันหัน

เคสนี้สามารถพบได้เป็นประจำ เพราะรถยนต์ทุกคันจะต้องขับด้วยความระมัดระวังอยู่แล้ว เมื่อเหตุการณ์อะไรบางอย่างอยู่ตรงหน้าสิ่งที่ทำได้ทันทีก็คือการ “เบรก” แต่ทั้งนี้หากว่ากันด้วยกฎหมายก็จะต้องยึดตามหลักที่ว่า “รถยนต์ทุกคันต้องเว้นระยะห่างจากคันหน้าในระยะที่ปลอดภัย” ดังนั้นฝ่ายที่ชนตามหลังยังไงก็ต้องสันนิษฐานว่าเป็นฝ่ายผิดก่อน แต่ทั้งนี้สามารถนำหลักฐานอย่างคลิปกล้องหน้ารถยนต์มาใช้ประกอบการพิจารณาได้

2. ชนท้ายเพราะรถคันหน้าเปลี่ยนเลนกะทันหัน

เคสถัดมาส่วนใหญ่เกิดจากรถยนต์คันข้างๆ เปลี่ยนเลนกะทันหันโดยที่เราไม่ทันตั้งตัวและไม่มีการเปิดสัญญาณไฟเพื่อขอตามมารยาท เคสนี้ไม่ว่ายังไงคนขับเปลี่ยนเลนกะทันหันก็จะต้องเป็นฝ่ายผิดอย่างแน่นอน เพราะเป็นการเปลี่ยนเลนด้วยระยะที่ไม่ปลอดภัย สามารถอ้างอิงจาก พ.ร.บ. จราจรในมาตรา 43 “ขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว ทำให้เกิดอันตรายต่อบุคคลและทรัพย์สิน”

 

แต่เคสนี้ก็ยังมีกรณีอื่นๆ ที่เป็นไปได้อีก เช่น คันที่เปลี่ยนเลนมีการเปิดสัญญาณไฟและเข้ามาในระยะที่ปลอดภัยและ แต่รถทางตรงไม่มีน้ำใจหรืออาจประมาท อันนี้รถที่มาทางตรงสามารถเป็นฝ่ายผิดได้หรือถ้าพบว่าประมาททั้งคู่ก็สามารถให้เป็นการประมาทร่วมได้เช่นกัน

3. ชนท้ายจากอุบัติเหตุซ้ำซ้อน

เคสที่ 3 เป็นกรณีที่ถือว่าเป็นอุบัติเหตุซ้ำซ้อนได้อย่างการที่ขับรถชนท้ายคันหน้า เพราะถูกคันข้างหลังชนมาอีกทีเคสที่คันหลังสุดที่มาชนรถของคุณจะต้องเป็นฝ่ายผิดก่อนเป็นอันดับแรก เนื่องจากคันที่ 3 อาจมีความประมาทด้วยการขับรถไม่เว้นระยะปลอดภัยและมีการขับจี้กระชั้นชิด ถือเป็นต้นเหตุให้เกิดความเสียหายที่ซ้ำซ้อน

4. ชนท้ายจากอาการมึนเมา

เคสนี้ถ้าหากคันไหนที่มีความมึนเมาเขามาเกี่ยวข้องละก็ยังไงก็ไม่รอดอย่างแน่นอน เพราะการเมาแล้วขับถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายที่ระบุไว้ว่า “หากมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ถือว่าเมาสุรา” ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์คันหน้ามีอาการมึนเมาไม่สามารถควบคุมรถได้ตามปกติ หรือแม้กระทั่งตัวคุณเองที่มีมึนเมาแล้วขับไปชนคันข้างหน้าเคสนี้คนเมาต้องรับความผิดไปเต็มๆ และที่สำคัญประกันจะไม่จ่ายสินไหมทดแทนให้ผู้เอาประกันภัย

เมื่อเกิดเหตุการณ์รถชนจะต้องทำอย่างไร

เมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชนกันเราเป็นฝ่ายถูกหรือผิดไม่ว่ายังไงสิ่งแรกที่ควรทำคือการตั้งสติให้ดี เพื่อให้คุณสามารถดำเนินการต่างต่อไปได้โดยไม่เกิดปัญหาอื่นๆ ซ้ำซ้อนตามมาดังต่อไปนี้

เปิดสัญญาณไฟฉุกเฉินหรือตั้งป้ายเตือนอุบัติเหตุในระยะที่รถยนต์คันข้างหลังมองเห็นได้ (ในระยะอย่างน้อย 50-100 เมตร)

ถ่ายรูปภาพความเสียหายโดยรอบเอาไว้มากที่สุดทั้งของคุณเองและของรถยนต์คู่กรณีรวมไปถึงแผ่นป้ายทะเบียนให้ชัดเจน เพื่อเป็นหลักฐานป้องกันตัวเมื่อต้องเคลมประกันและคดีความต่างๆ

โทรเรียกเจ้าหน้าที่ประกันรถยนต์ของคุณทันที โดยจะต้องแจ้งรายละเอียดของอุบัติเหตุและสถานที่เกิดเหตุให้ชัดเจน (ต้องมีสติและไม่ลนลาน) เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถเดินทางมาที่เกิดเหตุได้อย่างถูกต้อง

หากเกิดอาการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือเรียกรถพยาบาลเพื่อมาช่วยเหลือทันที

รถชนกันยอมความได้หรือไม่

ในกรณีที่มีการเฉี่ยวชนกันโดยที่ไม่มีผู้บาดเจ็บกรณีนี้ทั้ง 2 ฝ่ายสามารถเจรจาตกลงกันได้ไม่ยาก อาจไม่ต้องถึงกับขึ้นโรงขึ้นศาลให้ประกันทั้ง 2 ฝ่ายทำหน้าที่ในการเจรจากันไป แต่ถ้าหากเป็นเหตุที่ร้ายแรงถึงขั้นมีการบาดเจ็บกรณีนี้ผู้ขับขี่อาจจะต้องระวังโทษทางกฎหมายตาม พ.ร.บ. จราจรทางบกในมาตรา 43 “ขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว ทำให้เกิดอันตรายต่อบุคคลและทรัพย์สิน” ถือเป็นความผิดทางอาญาที่ยอมความไม่ได้

ถ้าตกลงกันไม่ได้ต้องทำอย่างไร

ในกรณีรถชนกันเราเป็นฝ่ายถูกหรือผิดที่เจ้าหน้าที่ประกันของทั้ง 2 ฝ่ายยังหาข้อตกลงกันไม่ได้ งานนี้ต้องรบกวนให้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำพื้นที่เข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกตั้งแต่การตีเส้น (ใช้สีสเปรย์) ก่อนที่จะทำการย้ายรถทั้งคู่ออกไปจากจุดที่มีการกีดขวางการจราจร จากนั้นก็ให้ทั้งประกันและเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการเพื่อตัดสินความผิดได้อย่างสะดวกและถูกต้อง

ทำไมการเว้นระยะปลอดภัยถึงสำคัญต่อผู้ใช้รถทุกคน

การขับรถไม่ว่าจะรถยนต์หรือมอเตอร์ไซค์สิ่งที่สำคัญคือการเว้นระยะห่างให้ปลอดภัยมากที่สุด โดยในทางกฎหมาย พ.ร.บ. จราจร มาตรา 40 ระบุเอาไว้ว่า “ผู้ขับขี่ต้องขับรถให้ห่างคันหน้าพอสมควรในระยะที่หยุดรถได้โดยปลอดภัยเมื่อจำเป็นต้องหยุดรถ” เพราะไม่มีใครคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดอุบัติเหตุอะไรข้างหน้าได้ สำหรับรถยนต์ระยะที่ปลอดภัยขอแนะนำว่าให้เว้นจากคันหน้าโดยการกะด้วยสายตาให้เห็นล้อคู่หลังของคันหน้า ถือว่าปลอดภัยและมีระยะในการเบรกกันหันที่เหมาะสม

สรุปเกี่ยวกับรถชนกันเราเป็นฝ่ายถูกหรือผิดเช็กได้อย่างไร

อุบัติเหตุทางรถยนต์ถือเป็นเรื่องที่ใครๆ ก็ไม่อยากเจอ เพราะเสียทั้งเวลา เสียทรัพย์ และอาจเสียโอกาสอื่นๆ ในวันที่เกิดเหตุได้เลย ดังนั้นสิ่งที่ TIPINSURE อยากให้ผู้ใช้รถยนต์คำนึงถึงเสมอคือการขับรถยนต์ด้วยสติไม่ประมาท ควรมีมารยาทและน้ำใจให้กับเพื่อร่วมทางและที่สำคัญควรมีการเว้นระยะปลอดภัยจากคันหน้าทุกครั้ง เพราะเคสของการขับจี้ระยะประชิดไม่เคยจบสวยเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา ดังนั้นขับด้วยความไม่ประมาทและเคารพกฎจราจรยังไงก็ปลอดภัยถึงที่หมายอย่างแน่นอน

สำหรับใครที่ไม่ค่อยมั่นใจเวลาที่ตัวเองขับรถหรือเป็นคนที่ขี้ระแวงในการเกิดอุบัติเหตุละก็ ควรมองหาประกันรถยนต์ชั้น 1 ที่สามารถให้ความคุ้มครองคุณได้อย่างครบครั้นทันการชนแบบมีคู่กรณีและไม่มีคู่กรณี TIPINSURE พร้อมมอบกรมธรรม์ที่ตอบโจทย์ความคุ้มครองคุณได้ตามไลฟ์สไตล์ที่เป็นคุณ ติดต่อเพื่อซื้อประกันรถยนต์ทางออนไลน์คลิกเลย!

#ประกันรถยนต์ #อุบัติเหตุรถยนต์ #รถชน

 

#Tag: