ผู้หญิง หรือ ผู้ชาย ใครเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งมากกว่ากัน
05 สิงหาคม 2024
ผู้ชม: 127 คน

ผู้หญิง หรือ ผู้ชาย ใครเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งมากกว่ากัน

ผู้หญิง หรือ ผู้ชาย ใครเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งมากกว่ากัน
มะเร็ง โรคที่ไม่มีใครอยากเป็น หลายคนเกิดความกังวลใจไม่น้อย ที่กว่า 95 เปอร์เซ็นต์ เป็นโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และอีก 5 เปอร์เซ็นต์เป็นโรคมะเร็งที่เกิดจากพันธุกรรม ซึ่งตามสถิติทางการแพทย์ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่สูง และแนวโน้มยอดผู้ป่วยโรคมะเร็งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในแต่ละปี 

โรคมะเร็ง เป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนทั้งผู้ชาย ผู้หญิงก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมะเร็งได้เช่นกัน แต่เคยสงสัยกันไหมว่าแนวโน้วระหว่างผู้หญิงกับผู้ชาย ใครเสี่ยงเป็นมะเร็งมากกว่ากัน?

 

ความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งระหว่างผู้ชายและผู้หญิงแตกต่างกัน 

ในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งในผู้ชายและผู้หญิงมีความเสี่ยงที่แตกต่างกัน เช่น โรคมะเร็งเต้านม ผู้ชายก็มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมได้ แต่ผู้หญิงก็มีความเสี่ยงเยอะกว่าเช่นกัน ส่วนของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ก็มีโอกาสเป็นได้ทั้ง 2 เพศ และผู้ที่อายุตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไป จัดอยู่ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงพอกัน

 

5 อันดับโรคมะเร็งที่พบบ่อยในผู้หญิง

  • มะเร็งเต้านม 37.5%
  • มะเร็งปากมดลูก 14.4%
  • มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก 9.6%
  • มะเร็งหลอดลมและปอด 6.5%
  • มะเร็งรังไข่ 4.5%


5 อันดับโรคมะเร็งที่พบบ่อยในผู้ชาย

  • มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก 16.2%
  • มะเร็งตับและท่อน้ำดี 15.5%
  • มะเร็งหลอดลมและปอด 15.5%
  • มะเร็งหลอดอาหาร 5.6%
  • มะเร็งลิ้น 4.6%


อาการแบบนี้! น่าสงสัยว่าเป็นโรคมะเร็ง 

สามารถสังเกตอาการของตัวเองได้หลายส่วน อย่างเช่น

  • มีการเปลี่ยนแปลงของระบบขับถ่ายและปัสสาวะ อย่างการถ่ายเป็นสีดำ หรือปัสสาวะเป็นเลือด
  • กลืนอาหารลำบาก หรือมีอาการเสียดแน่นท้องเป็นเวลานาน
  • อาการเสียงแหบ ไอเรื้อรัง 
  • มีเลือดออกผิดปกติ เป็นแผลเรื้อรัง 
  • มีการเปลี่ยนแปลงของหูดหรือไฝตามร่างกาย 
  • มีก้อนตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย

อาการเหล่านี้ไม่ได้เฉพาะแต่โรคมะเร็ง อาจเกิดจากสาเหตุอื่น ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดเมื่อมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น คือการพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย

 

ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งช่วยเพิ่มโอกาสรอด

ปัจจุบันในทางการแพทย์มีการพัฒนาเทคโนโลยีในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง ทำให้สามารถค้นหาโรคมะเร็งระยะเริ่มต้นได้ ช่วยป้องกันเซลล์มะเร็งลุกลามเพิ่มโอกาสการรักษาได้มากขึ้น
การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งจะมีจำกัดเฉพาะในมะเร็งบางชนิด ซึ่งโรคมะเร็งในปัจจุบันที่สามารถทำการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งได้ เช่น 

  • การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม (Breast Cancer Screening) แนะนำให้ตรวจแมมโมแกรมในผู้หญิงอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป 
  • การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer Screening)แนะนำให้ตรวจคัดกรองในผู้หญิงอายุตั้งแต่ 21 ปีขึ้นไป เป็นการตรวจภายในหรือที่เรียกว่า การตรวจแปปสเมียร์  (Pap Smear หรือ Pap Test) เพื่อตรวจดูความผิดปกติของเซลล์ที่ปากมดลูก โดยจะนำเซลล์เหล่านั้นมาตรวจเพื่อค้นหาเซลล์มะเร็ง
  • การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colorectal Cancer Screening) จะพบมากในกลุ่มคนอายุ ตั้งแต่ 50 ปี เป็นต้นไป มีวิธีการตรวจโดยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ และการตรวจอุจจาระ 
  • มะเร็งอื่นๆ ที่มีการตรวจคัดกรอง เช่น มะเร็งตับ มะเร็งปอด คำแนะนำในปัจจุบันยังให้ทำเฉพาะในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงเท่านั้น

ข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท 3
ข้อมูลจาก : โรงพยาบาลเวชธานี

การตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง เป็นเรื่องที่มีความสำคัญและได้ประโยชน์มากๆ ยิ่งการตรวจสุขภาพประจำปี ใส่ใจในการดูแลสุขภาพเพื่อให้ร่างกายลดการเจ็บป่วยที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต TIPINSURE แนะนำหลักประกันที่จะเข้ามาช่วยวางแผนเตรียมตัวรับมือกับโรคร้ายที่อาจเกิดขึ้นกับคุณ ช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย อย่างประกันสุขภาพ TIP Cancer Plus คุ้มครองโรคมะเร็งแบบครบเซ็ต เจอโรคร้าย จ่ายให้แบบไม่จบ สนใจซื้อประกันสุขภาพออนไลน์ได้เลยที่ TIPINSURE.COM หรือโทร 1736 

#Tag: